ฟังแล้วจี๊ดเลย เปิดวลีเด็ด ดร.ตฤณห์ ในรายการโหนกระแส

กลายเป็นไวรัลที่ทำเอาชาวเน็ตต่างแห่แสดงความคิดเห็นกันสนั่น หลังเทปรายการโหนกระแสออกอากาศวันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2567 ตอน หนุ่มร้อง! ถูกลูกนักการเมืองท้องถิ่นดัง ทำร้ายร่างกายจนกะโหลกยุบ ซึ่งเป็นคดีที่เคยเงียบหายกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง

ซึ่งในรายการยังมี ดร.ตฤณห์ โพธิ์รักษา นักอาชญาวิทยาเชิงจิตวิทยาและพฤติกรรมอาชญากร อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล

มาร่วมพูดคุยในรายการด้วย ซึ่งบางช่วงในรายการคำพูดของ ดร.ตฤณห์ ยังทำเอาชาวเน็ตแห่ถูกใจกันสนั่นเลยว่า “การที่เราจะพิมพ์อะไรลงไปในอินเตอร์เน็ต

หรือจะออกมาพูดอะไรที่ไร้สาระ ไม่ได้ทำอะไรให้มันดีขึ้น อยู่เฉยๆ ไม่พูดอะไรเลยจะดีกว่า เพราะการออกมาพูดโดยไม่ผ่านกระบวนการกลั่นกรอง

มันแสดงถึงวุฒิภาวะ ว่าคุณเป็นคนระดับไหน คนเราทุกคนมีสมอง แต่มันทำงานได้ปกติไหม มันอีกเรื่องหนึ่ง บางทีเรามองหน้าเราไม่รู้นะครับ ว่าข้างในสมองมันแหว่ง มันเน่ายังไง

ถ้ามีเวลาอยากให้ไปเรียนหนังสือ การลงทุนที่ดีที่สุด คือการลงทุนเพื่อหาความรู้ใส่ตัว จะได้ไม่โง่ ไม่ใช่ลงทุนเติมอินเตอร์เน็ต

ซื้อคีย์บอร์ด มาพิมพ์อะไรโง่ๆ ที่ทำให้คนดูคนฟัง รู้สึกเสียเวลา เสียดายอินเตอร์เน็ต เสียดายกระดูกหูชั้นใน เวลาที่ฟัง”

ซึ่งวลี “เปลืองกระดูกหูชั้นใน” ยังกลายเป็นประโยคเด็ดที่ชาวเน็ตแห่แชร์กันสนั่น ต่อมาทางดร.ตฤณห์

ยังโพสต์ให้ความรู้อธิบายกระดูกหูชั้นในเอาไว้ด้วยว่า “กระดูกหูชั้นใน (จริงๆ แล้วเรียกกันทั่วไปว่า กระดูกหูชั้นกลาง มากกว่า

เพราะกระดูกที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการได้ยินนั้นอยู่ในหูชั้นกลาง) คือชุดของกระดูกขนาดเล็กที่สุดในร่างกายมนุษย์ มีอยู่ทั้งหมด 3 ชิ้น

เรียงต่อกันเป็นโซ่เล็กๆ อยู่ในโพรงหูชั้นกลาง เพื่อส่งแรงสั่นสะเทือนของเสียงจากแก้วหูไปยังหูชั้นใน กระดูกหูชั้นกลาง (Ossicles) ประกอบด้วย:

1. Malleus (ค้อน) — เชื่อมกับแก้วหู รับแรงสั่นสะเทือนจากเสียงที่มากระทบแก้วหู

2. Incus (ทั่ง) — อยู่ตรงกลาง รับแรงจาก malleus แล้วส่งต่อไปที่

3. Stapes (โกลน) — เป็นกระดูกที่เล็กที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ส่งแรงสั่นสะเทือนเข้าสู่ หน้าต่างรูปไข่ (oval window) ซึ่งเป็นทางเข้าหูชั้นในหูชั้นใน (Inner Ear) มีโครงสร้างสำคัญคือ:

1. โคเคลีย (Cochlea) — ทำหน้าที่แปลงแรงสั่นสะเทือนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งต่อไปยังสมองผ่านประสาทการได้ยิน

2. อวัยวะควบคุมการทรงตัว (Vestibular system) — ช่วยในการรับรู้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวขอบพระคุณครับ ”

ขอบคุณข้อมูล: โหนกระแส,Aj. Trynh Phoraksa